 |
|
|
|
ในอดีตกาลชาวกะเหรี่ยงจากพม่าได้อพยพเข้ามาในไทยหลายครั้ง มีคำคำบอกเล่ากันว่าในสมัยกรุงธนบุรีช่วง พ.ศ. ๒๓๑๗ ชาวกะเหรี่ยงจากหมู่บ้านเมกะวะในเขตเมืองเมาะละแหม่(เมาะตะมะ) ได้อพยพเข้ามาอยู่ในทุ่งใหญ่เซซาโว่ (ปัจจุบันคือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร หรือเขตมาดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร)เพราะโดยนิสัยแล้วชาวกะเหรี่ยงนั้นรักสงบ หลีกเลี่ยงสงคราม ชาวกะเหรี่ยงจึงเลือกที่จะตั้งที่อยู่อาศัยลึกเข้าไปในป่าใหญ่ |
|
|
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๕ (ในสมันรัชกาลที่ ๓ )ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มนี้ได้ช่วยกับขัยไล่ทหารพม่าออกจากสยาม พระเจ้าแผ่นดินสยามจึงได้แต่งตั้งหัวหน้ากะเหรี่ยงให้เป็นเจ้าเมืองสังขละบุรี มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระศรีสุวรรณคีรี” (ที่ตั้งของเมืองสังขละบุรีในยุคนั้นคือบ้านเสน่ห์พ่อง ตำบลไล่โว่ในปัจจุบัน)
เดิมเมืองสังขละบุรี ตั้งอยู่ ณ บ้านสะเน่พ่อง ราษฏรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง มีพระศรีสุวรรณคีรี เป็นเจ้าเมืองสืบทอดตำแหน่งกันมา ๕ ท่าน จนกระทั่งมีการปรับปรุงระเบียบการปกครองท้องถิ่นสมัยรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนฐานะเมืองสังขละบุรีเป็นอำเภอ พระศรีสุวรรณคีรีที่ ๕ (ทะเจียงโปรย เสตะพันธ์) รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นนายอำเภอคนแรกของสังขละบุรี แต่เดิมแยกการปกครองเป็น ๒ ตำบล โดยถือลำน้ำกษัตริย์ (กาสะ) เป็นเส้นแบ่งการปกครอง คือ |
|
ตำบลไล่โว่ อยู่ตอนใต้ของลำน้ำกษัตริย์ (กาสะ) กำนันปกครองติดต่อกันมาจนปัจจุบัน คือ |

 |
กำนันยงไหล่ |

 |
กำนันเวียแตะ |

 |
กำนันเท่ห์นง |

 |
กำนันเจี่ยนุ |

 |
กำนันเอ่งบ่า |

 |
กำนันซ่าวิ |

 |
กำนันบวร เสตะพันธ์ |

 |
กำนันคาจง เสตะพันธ์ |

 |
กำนันไมตรี เสตะพันธ์ |

 |
กำนันอานนท์ เสตะพันธ์ |

 |
กำนันไพบูลย์ ช่วยบำรุงวงศ์ |
|
|
ตำบลลังกา อยู่ตอนเหนือของลำน้ำกษัตริย์ (กาสะ) มีกำนันปกครองกันมา ๕ คน คือ |

 |
กำนันเมียะเพิ่ง |

 |
กำนันท่องเกย์ |

 |
กำนันไป่เยาะเอง |

 |
กำนันปวยแตะ |

 |
กำนันก้องนุ |
|
|
|
ระหว่างที่พระศรีสุวรรณคีรีที่ ๕ ( ทะเจียงโปรย เสตะพันธ์ เป็นนายอำเภอสังขละบุรี พ.ศ.๒๔๓๘-๒๔๖๗) มีหลักฐานปรากฏว่าที่บริเวณหมู่บ้านก่องเผิงลำน้ำปะคะไหลลงสู่ลำน้ำกษัตริย์ (กาสะ) มีการจัดตั้งสถานีตำรวจ เพื่อบริการประชาชนในตำบลไล่โว่ และตำบลลังกา ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ ตำบลลังกาถูกยุบมารวมกับตำบลไล่โว่ จึงเป็นตำบลไล่โว่ตำบลเดียวกระทั่งปัจจุบัน
คำว่า “ไล่โว่” เป็นภาษากะเหรี่ยง มีความหมายว่า “หินแดง หรือผาแดง” |
|
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลแม่จันทะ |
อำเภออุ้งผาง |
จังหวัดตาก |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลหนองลู |
อำเภอสังขละบุรี |
จังหวัดกาญจนบุรี และ |
|
|
|
|
ตำบลปรังเผล |
อำเภอสังขละบุรี |
จังหวัดกาญจนบุรี |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลชะแล |
อำเภอทองผาภูมิ |
จังหวัดกาญจนบุรี |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา |
|
|
|
    |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ประชาชนในตำบลไล่โว่ จะประกอบอาชีพทำไร่ ทำนาโดยส่วนใหญ่ และมีกลุ่มอาชีพเสริมที่สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว ดังนี้ |

 |
กลุ่มแม่บ้านสะเน่พ่อง (ทำไม้กวาด) |

 |
กลุ่มแม่บ้านกองม่องทะ (ร้านค้าชุมชน) |

 |
กลุ่มแม่บ้านกองม่องทะ (ทอผ้าพื้นบ้านประยุกต์) |

 |
กลุ่มแม่บ้านกองม่องทะ (ซื้อ-ขายดอกไม้กวาด และแปรรูปหน่อไม้ดอง) |

 |
กลุ่มแม่บ้านเกาะสะเดิ่ง (ทอผ้าพื้นบ้าน) |

 |
กลุ่มแม่บ้านไล่โว่ (ทอผ้าพื้นบ้าน) |

 |
กลุ่มแม่บ้านทิไล่ป้า (ร้านค้าชุมชน) |

 |
กลุ่มแม่บ้านจะแก (ทอผ้าพื้นบ้าน) |
|
|
|
|
|
ตำบลไล่โว่เป็น ๑ ใน ๓ ตำบล ในเขตอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่ประมาณ ๑,๗๒๓.๙๘ ตารางกิโลเมตร ประมาณ ๑,๐๗๗,๘๔๗.๕๐ ไร่ คิดเป็นพื้นที่เกษตร ๑๒,๗๐๐ ไร่ ห่างจากทางหลวงหมายเลข ๓๒๓ ระยะทาง ๑.๗ กิโลเมตร |
|
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด ๕,๔๕๔ คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน ๒,๙๒๒ คน |
คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๕๘ |

 |
หญิง จำนวน ๒,๕๓๒ คน |
คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๔๒ |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๗๕๕ ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย ๓.๑๖ คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ครัวเรือน |
|
|
|
รวม |
 |
|
๑ |
บ้านสะเน่พ่อง |
๑๖๖ |
๓๘๐ |
๓๔๓ |
๑๖๓ |
๑๔๑ |
๕๔๓ |
๔๘๔ |
๑,๐๒๗ |
|
 |
๒ |
บ้านกองม่องทะ |
๒๑๔ |
๔๑๕ |
๓๕๘ |
๔๐๐ |
๓๒๑ |
๘๑๕ |
๖๗๙ |
๑,๔๙๔ |
 |
|
๓ |
บ้านเกาะสะเดิ่ง |
๕๕ |
๑๕๗ |
๑๔๗ |
๑๙ |
๑๐ |
๑๗๖ |
๑๕๗ |
๓๓๓ |
|
 |
๔ |
บ้านไล่โว่ |
๖๕ |
๑๖๒ |
๑๓๒ |
๑๔๓ |
๙๙ |
๓๐๕ |
๒๓๑ |
๕๓๖ |
 |
|
๕ |
บ้านทิไล่ป้า |
๘๘ |
๒๒๗ |
๒๒๔ |
๑๔๓ |
๑๑๔ |
๓๗๐ |
๓๓๘ |
๗๐๘ |
|
 |
๖ |
บ้านจะแก |
๑๖๗ |
๓๙๕ |
๓๕๙ |
๓๑๘ |
๒๘๔ |
๗๑๓ |
๖๔๓ |
๑,๓๕๖ |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
รวม |
๑,๗๓๖ |
๑,๕๖๓ |
๑,๑๘๖ |
๙๖๙ |
๒,๙๒๒ |
๒,๕๓๒ |
๕,๔๕๔ |
 |
|
|
หมายเหตุ ข้อมูลจากสำนักทะเบียนราษฎร์ อำเภอสังขละบุรี ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๙ |
|
|
|
|
|
 |
|